Search This Blog

ระบบจดจำใบหน้า อคติจากเทคโนโลยี - เดลีนีวส์

sumpatteknologi.blogspot.com

โรเบิร์ต วิลเลี่ยม เป็นคนดำร่างใหญ่ ทำงานสุจริตชนตามปกติ แต่มาวันหนึ่งตำรวจดีทรอยส์ สหรัฐอเมริกา โทรศัพท์มาหาเขา บอกให้เดินทางมาที่โรงพักหน่อย เพราะมีหมายจับ ทีแรกวิลเลี่ยมคิดว่าเพื่อนโทร.มาแกล้งจึงไม่ได้เดินทางไป

แต่กินเวลาไม่นาน มีตำรวจมาหาตัวเขาระหว่างขับรถกลับบ้าน เจ้าหน้าที่ให้เขาลงจากรถ ใส่กุญแจมือไขว้หลัง แล้วพาขึ้นรถตำรวจไป ต่อหน้าภรรยาและลูกสาวที่ยังเด็ก 2 คน
ภรรยาถามเจ้าหน้าที่ว่าจะพาเขาไปไหน ตำรวจตอบมาว่า “กูเกิ้ลหาเอาเองดิ”

เมื่อมาถึงโรงพัก วิลเลี่ยมจึงเข้าใจว่าเรื่องทั้งหมดนั้นไม่ใช่ใครโทร.มาแกล้งอีกแล้ว แต่ปรากฏว่าเป็นเรื่องจริง ตำรวจมีหมายจับเขาในข้อหาลักทรัพย์

เขาถูกพาตัวเข้าห้องสืบสวนทันที นักสืบ 2 คนจ้องหน้าเขา แล้ววางภาพวงจรปิด เป็นชายผิวดำร่างใหญ่เหมือนเขา

แต่มันไม่ใช่เขา!

วิลเลี่ยมปฏิเสธบอกว่าชายในภาพไม่ใช่เขา นักสืบถามว่าเคยไปร้านขายของนี้ไหม วิลเลี่ยมตอบว่าเคยไป แต่นานแล้ว เกือบ 6 ปีได้ ตั้งแต่ร้านเปิดใหม่ ๆ แถมหลักฐานต่าง ๆ นานาเขาไม่คุ้นตาเลย นี่มันเรื่องอะไรกันฟะเนี่ย

ตอนที่นักสืบเอาภาพจากวงจรปิดมาให้เขาดู มันเป็นภาพเบลอ ๆ ไม่ชัด ภาพชายผิวดำร่างใหญ่ วิลเลี่ยมดูยังไงก็ยันว่าไม่ใช่ตัวเขาเอง เมื่อนักสืบถามว่า “นี่เอ็งหรือเปล่า?”

วิลเลี่ยมจึงได้ทีโวยว่า “นี่คิดว่าคนดำทุกคนเหมือนคนในภาพหมดหรือไง”

เจ้าหน้าที่ไม่ได้ปล่อยตัวเขาไป แต่ยังคุมตัวเขาไว้ แล้วไปคุยอะไรกันนอกห้องสืบสวน ปัญหาทั้งหมดนี้ เกิดจากระบบเทคโนโลยีที่เรียกว่า ระบบจดจำใบหน้า

ระบบดังกล่าว บริษัทเทคโนโลยีชั้นนำในอเมริกาได้คิดค้นขึ้น แล้วทางตำรวจได้นำนวัตกรรมนี้มาใช้ในการติดตามตัวคนร้าย ระบบจะทำงานโดยการตรวจสอบภาพวงจรปิดคนร้าย แล้วนำมาเปรียบเทียบกับฐานข้อมูลอย่างรวดเร็ว ประหยัดเวลาให้ตำรวจมานั่งเปิดรูปหาเหมือนในอดีต ซึ่งทำให้จะเข้าถึงตัวคนร้ายได้ไวกว่ามาก

สำหรับคนร้ายผิวขาวนั้น ระบบตรวจสอบได้อย่างรวดเร็วมาก แต่กับคนดำ คนผิวสีอื่น ๆ ปรากฏว่าระบบทำงานได้สุดชุ่ยจริง ๆ คือกับคนผิวสีนั้น เครื่องจะคำนวณพลาดประมาณ 10-100 ครั้ง ทำให้นักประดิษฐ์ต่างยอมรับว่า ระบบนี้มันมีอคติต่อคนผิวสีไม่ขาว ดังกรณีของวิลเลี่ยมคนนี้นี่เอง

ในคดีของวิลเลี่ยมนี้ เมื่อตำรวจได้ภาพวงจรปิดคนร้ายที่เข้าไปลักทรัพย์ในร้านค้ามา เขาก็เอาภาพเข้าไปให้ระบบจดจำใบหน้าตรวจสอบ ผลที่ได้คือ เครื่องได้ตรวจสอบภาพจำนวนมากของฐานข้อมูลรัฐแล้วมันก็ไปเชื่อมโยงภาพนี้กับตัววิลเลี่ยมเฉยเลย

เมื่อได้ข้อมูลมาแล้ว ตำรวจก็ไม่สนสี่สนแปดใด ๆ ทั้งสิ้น ไม่เอาไปตรวจสอบอีกทางกับหลักฐานด้านอื่นๆ แต่ทำการขอหมายจับเพื่อควบคุมตัววิลเลี่ยมทันที และไม่ใช่แค่วิลเลี่ยมคนดำร่างใหญ่ที่เจอเหตุแบบนี้ ยังมีคนดำ คนผิวสีอื่น ๆ ที่เจอความสะเพร่าของเครื่องนี้ จนโดนดำเนินคดีในความผิดที่ไม่ได้ทำ

มันคือการล่าแพะด้วยเทคโนโลยีนั่นเอง

ที่ผ่านมาบริษัทยักษ์ใหญ่อย่างไอบีเอ็ม แอมะซอน ไมโครซอฟต์ ต่างยกเลิกใช้ระบบจดจำใบหน้า หลังพบว่ามันทำงานผิดพลาดกับคนผิวสีไม่ขาว ที่ยังใช้กันอย่างกว้างขวาง ก็คือในประเทศจีน ดังที่ได้เขียนไปเมื่ออาทิตย์ก่อน

กรณีของวิลเลี่ยมนี้ เขาโดนส่งตัวเข้าเรือนจำเพื่อกักตัวไว้ 30 ชั่วโมง ซึ่งทำให้เขาต้องขาดงานเป็นครั้งแรกในตั้งแต่เริ่มต้นทำงานในบริษัทแห่งนี้มา 4 ปี โดยภรรยาต้องอีเมล์ไปบอกหัวหน้างานว่า เขาป่วย แถมการจับกุมนี้เกิดขึ้นก่อนวันเกิดครบรอบอายุ 42 ปีอีกด้วย

ระหว่างการคุมตัวนักสืบ 2 คนได้เพ่งมองภาพวงจรปิดที่ได้กับภาพของวิลเลี่ยม ครุ่นคิดมากมาย แล้วก็คิดได้ว่า คอมพิวเตอร์น่าจะทำงานผิดพลาด

วิลเลี่ยมจึงได้รับการปล่อยตัว โดยต้องวางเงินประกัน 1,000 เหรียญยูเอสดอลลาร์ ตากฝนรอภรรยา 30 นาทีให้ขับรถมารับไปเป่าเค้กกับครอบครัวในวันเกิดของตัวเอง หลังปล่อยตัวเขาจ้างทนายฟ้องกรมตำรวจดีทรอยส์กลับ อัยการได้ยกเลิกประวัติความผิดจากการจับกุม ท่ามกลางการเรียกร้องให้ยกเลิกระบบจดจำใบหน้าในการไล่ล่าจับกุมอาชญากรเสียที เพราะมันมั่วมาก ทนายความวิลเลี่ยมบอกว่า ลูกความเขาโชคดีมากที่ยังมีชีวิตอยู่ ท่ามกลางยุคสมัยคนดำโดนตำรวจยิงตายบ่อยมากจนเกิดการประท้วง มันจึงเป็นความโชคดีอย่างยิ่งของวิลเลี่ยม

ถึงตรงนี้มีคนเรียกร้องให้ตำรวจกลับไปหาหลักฐานประกอบความผิด ไม่ใช่พึ่งพาแต่เทคโนโลยีอย่างเดียว ที่ผ่านมาตำรวจอเมริกาใช้ระบบข้อมูลปรับใช้กับการทำงานจับคนร้าย เช่น การรวบรวมข้อมูลการจับกุม ทำให้ตำรวจรู้ว่าจะต้องไปจับโจรช่วงเวลาไหน ย่านไหน ซึ่งข้อมูลตรงนี้มันมีความลำเอียง เพราะตำรวจผิวขาวชอบจับคนดำ พอจับมาก ๆ เข้า มันจึงกลายเป็นข้อมูลว่าย่านที่คนดำอยู่ เป็นย่านไม่ปลอดภัยโดยอัตโนมัติ ตำรวจต้องไปจับบ่อย ๆ จากการเก็บข้อมูลแบบนี้ ทำให้มันค้ำจุนระบบความอยุติธรรมและการเหยียดผิวของวงการตำรวจได้เป็นอย่างดี

วิลเลี่ยมผู้รอดจากคุกในความผิดที่ตัวเองไม่ได้ก่อ บอกว่าเขามีหลักฐานที่ยืนยันว่าวันเกิดเหตุ เขาไม่ได้อยู่ในละแวกร้านที่ถูกลักทรัพย์ โดยเขาโชว์อินสตาแกรมส์ส่วนตัวของเขา ขณะที่ถ่ายตัวเองร้องเพลงโปรด We are one ของ Maze and Frankie Beverly ซึ่งเป็นเพลงในปี 1983 เขาได้ยินมันจากวิทยุ จึงควักมือถือมาถ่ายตัวเองร้องเพลงนี้ขณะขับรถจากบ้านไปที่ทำงาน

มันจึงเป็นหลักฐานยืนยันกับตำรวจว่า เขาไม่ใช่คนร้ายในคดีนี้อย่างแน่นอน
................................................
คอลัมน์ : หนอนโรงพัก
โดย "ณัฐกมล ไชยสุวรรณ"

Let's block ads! (Why?)



"เทคโนโลยี" - Google News
July 01, 2020 at 02:00PM
https://ift.tt/3dQN9tX

ระบบจดจำใบหน้า อคติจากเทคโนโลยี - เดลีนีวส์
"เทคโนโลยี" - Google News
https://ift.tt/3dNmgbt
Home To Blog


Bagikan Berita Ini

1 Response to "ระบบจดจำใบหน้า อคติจากเทคโนโลยี - เดลีนีวส์"

  1. ผลิตภัณฑ์บำรุงรักษา สิว พิณนารา : มาร์คหน้าใส ข้าวหอมมะลิ & น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น

    ReplyDelete

Powered by Blogger.